อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ใครหลายคนต้องเคยพบเจอกันอยู่หลายค่ำคืน ซึ่งต่อให้จะทำยังไงก็นอนไม่หลับสักที กว่าจะได้นอนหลับสนิทดี ๆ นั้นก็ผ่านไปแล้วหลายชั่วโมง แถมยังทำให้นาฬิกาชีวิตของเราแปรปรวน ส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ในปัจจุบันนั้นมักเกิดจากการใช้ชีวิตที่ต้องแข่งขันกับเวลาอยู่เสมอ ความเครียด ความกดดัน หรือแม้แต่ความกังวลจากภาระหน้าที่ในแต่ละวันเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังเกิดได้จากอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดหลัง รู้สึกไม่ผ่อนคลายทำให้นอนหลับไม่ลงได้เช่นกัน
ทางออกของปัญหานอนไม่หลับ
สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหากับอาการนอนไม่หลับอยู่ ลองหันมาใช้ตัวช่วยอย่างน้ำมันหอมระเหยที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น อโรมาเธอราพี (Aroma Therapy) ที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ประวัติศาสตร์อันยาวนานในด้านการรักษาและการบำบัด ถือเป็นศาสตร์เก่าแก่ของโลกด้วยคุณสมบัติในการปลอบประโลมและให้ความผ่อนคลาย ส่งเสริมให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้นด้วยกลิ่นหอมเฉพาะจากพืชพันธุ์แต่ละชนิด ทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายมาเป็นผู้ช่วยสำคัญสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับใน เนื่องจากเป็นทางลัดที่รวดเร็วและและง่ายต่อการเตรียมตัวพักผ่อนนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ
น้ำมันหอมระเหยทำงานอย่างไร ?
การทำงานของน้ำมันหอมระเหยที่จะเข้าสู่ร่างกาย นั้นจะมีทั้งทางการสูดดมโดยตรง , การทำให้มันซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังด้วยการนวด การแช่น้ำ หรือผสมในครีมบำรุงผิว ซึ่งการซึมผ่านการนวด แช่ หรือการรับประทาน จะทำให้น้ำมันสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ซึ่งมีผลต่อคุณสมบัติของการบำบัดรักษาได้
ภาพ. วิธีการนำนำ้มันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกาย (A) การสูดดม (B) การดูดซึมผ่านทางผิวหนัง (C) การรับประทาน (ref : วิจิตรา หลวงอินทร์, (2017). สุคนธบำบัดจากนำ้มันหอมระเหย.)
วิธีการนำนำ้มันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกาย
- การสูดดม : เนื่องจากสภาพที่ระเหยได้ง่ายของน้ำมันหอมระเหย เราจึงสามารถ
สูดดมเข้าไปได้โดยผ่านทางเดินหายใจและ ปอด ซึ่งจะกระจายนำ้มันหอมระเหยเข้าสู่กระแสเลือด โดยส่วนใหญ่แล้ว ทางเดินหายใจนั้นถือเป็นช่องทางที่รวดเร็วที่สุดใน การนำนำ้มันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกาย (Moss et al., 2003) และรองลงมา คือ ทางผิวหนัง
- การดูดซึมผ่านทางผิวหนัง : สารประกอบของนำ้มันหอมระเหยนั้นสามารถ
ละลายได้ในไขมัน ดังนั้นจึงสามารถซึมผ่าน เนื้อเยื่อของผิวหนังซึ่งมีองค์ประกอบเป็นชั้นฟอสโฟลิปิดสองชั้น (phospholipid bilayer) ก่อนที่จะถูกดักจับเอาไว้ด้วยกระบวนการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย และดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะเดินทางเข้าถึงอวัยวะเป้าหมายทุกส่วน (Baser & Buchbauer, 2010)
- การรับประทาน : การรับประทานน้ำมันหอมระเหยเข้าทางปากนั้นนจำเป็นต้องกระ
ทำด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวัง เนื่องจากภาวะที่อาจจะเป็นพิษได้ของนำ้มันบางชนิด สารประกอบน้ำมันหอมระเหยและ/หรือเมแทบอไลต์ของน้ำมันหอมระเหยที่ถูกรับประทานเข้าไป จะถูกดูดซึมเช้าสู่ทางกระแสเลือดในช่องท้องแล้วถูกกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป
ทางด้านการนอนหลับ (sleep) จากการศึกษา ของ Lillehei ศึกษาแบบแปะ ซึ่งผลของการสูดดมนำ้มันหอมระเหยลาเวนเดอร์ต่อคุณภาพการนอนหลับในกลุ่มตัวอย่าง 79 คน พบว่าในกลุ่มที่วางแผ่นแปะนำ้มันหอมระเหยลาเวนเดอร์ที่หน้าอก มีคุณภาพการนอนหลับดีขึ้น โดยมีการติดตามผลเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในขณะที่ Ozkaraman ศึกษาแบบ RCT ผลของน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด 70 คน พบว่าหลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์มีค่าคะเเนนการนอนหลับที่วัดด้วย State-trait anxiety inventory และ The pittsburgh quality sleep index (PSQI) มีความแตกตางกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีความวิตกกงวลลดลงและนอนหลับดีขึ้น
Satira ขอแนะนำ น้ำมันหอมระเหยที่คัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดจากวัตถุดิบธรรมชาติ นำมาผสมผลานจนได้น้ำมันหอมระเหยที่มีประโยชน์หลากหลาย ผู้ที่เป็นภูมิแพ้หรือหายใจไม่ออกก็สามารถใช้ช่วยให้การนอนหลับของเป็นไปอย่างผ่อน
คลายและนอนหลับได้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน ดังนี้
- Lavender
ช่วยให้การนอนหลับเป็นไปอย่างผ่อนคลาย สัมผัสได้ถึงความสงบ หลังความเหนื่อยล้าจากวันที่ว้าวุ่น
- Ylang Ylang กลิ่นหอมอบอวลอันเป็นเอกลักษณ์ช่วยบรรเทาความเครียดและอาการนอนไม่หลับ อีกขั้นของความรู้สึกผ่อนคลาย
- Jasmine
ช่วยจัดการวันที่หม่นหมอง รวมถึงอารมณ์ซึมเศร้า พร้อมกระตุ้นอารมณ์ให้มีแรงใจและพลังบวกรับความสดชื่นเมื่อตื่นนอน
- Warm Vanilla
ช่วยคลายความรู้สึกกังวลได้เป็นอย่างดี และยังช่วยเพิ่มสมาธิให้กับเรา ทำให้เข้าถึงความสงบได้ง่ายขึ้นก่อนเข้านอน
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ
- ใช้น้ำมันหอมระเหยโดยตรง
ผสมน้ำมันเบสออยล์ด้วยสัดส่วนน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ต่อน้ำมัน 100 มล. เพื่อไม่ให้ระคายเคืองผิว
จากนั้นหยดลงบนฝ่ามือแล้วถูตามเข็มนาฬิกาแล้วค่อย ๆ สูดดมกลิ่นหอม หรือใช้น้ำมันหอมระเหยบริเวณข้อมือหรือหลังใบหูเป็นอีกวิธีในการผ่อนคลายก็ได้เช่นกัน
- ใช้น้ำมันหอมระเหยกับเครื่องกระจายกลิ่นDiffusers จะช่วยกระจายความหอมจากน้ำมันหอมระเหยไปในอากาศให้อบอวลทั่วห้องได้ยาวนานหลายชั่วโมง
- ใช้น้ำมันหอมระเหยในอ่างอาบน้ำ หรือผสมลงในครีมบำรุงผิว
ผสมน้ำมันหอมระเหย 5 –10 หยดกับเจลอาบน้ำแล้วค่อย ๆ เติมน้ำเพียงเท่านี้ก็พร้อมแช่น้ำอุ่นไปกับกลิ่นหอมอันแสนผ่อนคลาย
อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหย นั้นไม่สามารถรักษาโรคนอนไม่หลับได้โดยตรง เพียงแต่ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียดความกังวลต่าง ๆ ที่เผชิญมาในแต่ละวัน ทำให้นอนหลับได้ง่ายมากขึ้น หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง